หนึ่งในกิจกรรมที่สำคัญของโครงการ 4+1 สำนึกรักบ้านเกิด คือการที่พี่ปี 4 กับ น้องปี1 ลงสำรวจ เก็บข้อมูล และ ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน ในพื้นที่ๆพี่และน้องได้ร่วมกันเลือกมา การลงไปสำรวจและคลุกคลีกับชุมชนในท้องถิ่นนั้นทางคณะฯ ได้เล็งเห็นว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อการศึกษาและวงการสถาปัตยกรรมของประเทศไทยในอนาคต แต่การจะลงชุมชนนั้นนักศึกษาก็ต้องมีการเตรียมตัว มีทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ รู้จักวิธีการเก็บข้อมูลจากสภาพแวดล้อมจริง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการปฏิบัติงานในขั้นต่อๆ ไป
ภาพสีน้ำบันทึกภาพการรวมกลุ่มนักศึกษา โดย ผศ.สุดจิต สนั่นไหว
สำหรับนักศึกษาปี 1 ซึ่งเป็นน้องใหม่ของคณะฯ เริ่มศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมมาเพียงแค่ 1 เทอม เรียกได้ว่าเป็นมือใหม่หัดขับ เป็นเมล็ดพันธ์ที่กำลังจะงอกเป็นต้นกล้าก้าวสู่ต้นไม้ใหญ่สำหรับวิชาชีพสถาปัตย์กรรมในอนาคต ทางคณะฯ จึงได้เตรียมดินที่ดี ปุ๋ยอินทรีย์ที่เป็นธรรมชาติอน้ำที่พอเพียงพอและอุณหภูมิที่เหมาะกับต้นกล้า โดยได้มีการบูรณาการกิจกรรมเตรียมความพร้อมของนักศึกษา ในโครงการ "ค่ายสีน้ำ" ซึ่งเป็นโครงการ ทัศนศึกษาเพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ที่อยู่ในรายวิชา ARC 151 (Computer-Aided Presentation I)
ตลาดบางหลวง ร.ศ.122
เหล่าต้นกล้าเดินสำรวจชุมชน
อ.เขมชาติ (ประธานโครงการค่ายสีน้ำ) กำลังแนะนำวิธีการให้เหล่าต้นกล้า
โครงการทัศนศึกษาค่ายสีน้ำในปีนี้ จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม 2554 ณ ตลาดบางหลวง(ร.ศ.122) อ.บางเลน จ.นครปฐม โดยในปีนี้มีชื่อโครงการว่า "วาดเส้นเขียนสี...เก็บสิ่งดีๆไว้ให้ยั่งยืน" มีนักศึกษาเข้าร่วมในโครงการนี้ 356 คน วัตถุประสงค์หลักของโครงการ เพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่1 ได้เรียนรู้การปฏิบัติงานเป็นหมู่คณะในการเก็บข้อมูลจากสภาพแวดล้อมจริงในพื้นที่ชุมชนเพื่อนำเสนองานสถาปัตยกรรมด้วยเทคนิคการนำเสนอประเภทต่างๆ นอกจากเรื่องการฝึกทักษะในการเก็บข้อมูลและการนำเสนอแล้ว สิ่งที่เกี่ยวกับโครงการ 4+1 สำนึกรักบ้านเกิดคือการที่โครงการนี้เป็นโครงการที่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้ทดลองลงชุมชน ปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ฝึกการเก็บข้อมูลในเวลาที่กำหนด เรียกได้ว่าเป็นการเตรียมหยอดเมล็ดพันธุ์ ฝึกความแข็งแรงให้ต้นกล้า ก่อนส่งให้พี่ปีที่ 4 ที่จะเป็นผู้รับช่วงต่อ ในการช่วยดูแลเหล่าต้นกล้าทางสถาปัตย์ให้งอกงาม เติบใหญ่ เป็นต้นไม้ที่แข็งแรง ต่อไปในอนาคต และ ต้นไม้เหล้านี้ละครับ ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการช่วยกันพัฒนาวงการสถาปัตยกรรม สังคม และ ประเทศชาติของเราในอนาคตโดยไม่หลงลืมชาติพันธุ์ อย่างแท้จริง
น่ารักมากเลยค่ะ
ตอบลบ